ลงประกาศ ข่าวสาร พูดคุยกัน รับโฆษณาสินค้า

การแจ้งเตือน
ลบทั้งหมด

รับลงโฆษณาสินค้า สร้าง Backlink คุณภาพ อย่างเดียว หรือมีเนื้อหาและแนบลิ้งด้วยบน Guest Post รวมไปถึงการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในด้านต่าง ๆ ใครอยากลงประกาศขายสินค้า หรือโพสประกาศฟรี โปรดติดต่อที่ ติดต่อเรา กฏข้อห้ามเล็กน้อย ไม่อนุญาตเนื้อหาเกี่ยวกับ สถาบัน การเมือง หมิ่นประมาท การพนันและผิดกฏหมาย เนื้อหาเกี่ยวกับเพศ เนื้อหาสำหรับผู้ใหญ่ ไม่รับทุกกรณี

หอยเชอรี่สีทอง เลี้ยงไว้เสริมรายได้

1 โพสต์
1 ผู้ใช้
0 Likes
1,050 เข้าชม
ทำเกษตร
(@admin)
กระทู้: 185
สมาชิก Admin
หัวข้อเริ่มต้น
 

อดีตข้าราชการครูสองสามีภรรยาหลังเกษียณผันตัวมาเป็นเกษตรกรเต็มตัว เลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจตัวใหม่ “หอยเชอรี่สีทอง” ควบคู่กับการทำการเกษตรผสมผสาน เผยเลี้ยงง่าย ต้นทุนน้อย สร้างรายได้ดี

เมื่อวานนี้ (1 ก.พ.66) นางรัชดา และนายไพบูลย์ เพ็ชร์ชระ สองสามีภรรยา วัย 66 ปี ซึ่งเป็นอดีตข้าราชการครูทั้ง 2 คน หลังจากเกษียณอายุราชการก็ผันตัวเองมาเป็นเกษตรกรเต็มตัว โดยใช้พื้นที่สวนยางของตนเองที่บ้านทรายขาว หมู่ 6 ต.ทุ่งหวัง อ.เมือง จ.สงขลา เลี้ยงหอยเชอรี่สีทอง ซึ่งเป็นสัตว์เศรษฐกิจตัวใหม่ และเป็นเจ้าแรกของอำเภอเมืองสงขลา ควบคู่กับการทำการเกษตรผสมผสานด้วยการปลูกสละอินโด ร่วมกับยางพารา และเลี้ยงชันโรงในสวน

นางรัชดา เพ็ชร์ชระ หรือครูดา กล่าวว่า หอยเชอรี่สีทองเป็นสัตว์เศรษฐกิจตัวใหม่ที่เลี้ยงง่าย ลงทุนน้อย กินได้ ขายได้ราคา ตนและครอบครัวจึงสนใจที่จะนำมาเลี้ยง โดยการสั่งซื้อพ่อแม่พันธุ์หอยเชอรี่สีทอง จำนวน 60 คู่ นำมาเลี้ยงในบ่อซีเมนต์ เลี้ยงไม่ถึงเดือนหอยตัวเมียเริ่มวางไข่ จากนั้นจึงได้เลี้ยงขยายพันธุ์ต่อไปเรื่อย ๆ

หอยเชอรี่สีทอง เป็นสัตว์ที่เลี้ยงง่าย ลงทุนน้อย ซึ่งจะเลี้ยงในบ่อซีเมนต์ ด้วยการใส่น้ำในบ่อประมาณ 30-40 เซนติเมตร นำพืชน้ำ เช่น ผักตบชวา จอกแหนใส่ลงไปในบ่อ แล้วนำพ่อแม่พันธุ์หอยเชอรี่สีทองปล่อยลงบ่อ บ่อละประมาณ 40 คู่ ทุกวันจะให้พืชผัก หรือใบไม้ต่างๆ ที่หาได้ในครัวเรือน เช่น แตงกวา ใบตำลึง ใบมะละกอ ใบมันสำปะหลังเป็นอาหาร และเสริมด้วยให้อาหารเม็ดปลาดุกเล็กเพียง 1 ครั้งต่อสัปดาห์ และเปลี่ยนน้ำทุกๆ 5 วัน

หลังหอยเชอรี่ผสมพันธุ์จะขึ้นมาวางไข่บริเวณผนังบ่อ ก็จะแกะเก็บไข่หอยที่เกาะอยู่ข้างบ่อไปอนุบาลในบ่อแยก ประมาณ 14 วัน หรือ 2 สัปดาห์ จะออกลูกเป็นตัว ในช่วงเดือนแรกยังไม่ต้องให้อาหาร เพียงแต่ให้แหนแดงหรือพืชน้ำเป็นอาหารก็เพียงพอ

หลังจากนั้นแยกเลี้ยงในบ่อขุน และเริ่มให้อาหารเป็นอาหารเม็ดปลาดุกขนาดเล็กสัปดาห์ละครั้ง และแหนแดง พืชน้ำ พืชใบต่างๆ วันละ 1 ครั้ง เลี้ยงประมาณ 4 เดือน หอยโตเต็มที่สามารถนำไปรับประทานได้ ซึ่งเนื้อหอยเชอรี่สีทองเปลือกหอยจะมีสีเหลืองทอง และมีเนื้อเยอะ เนื้อนุ่ม ไม่เหนียว นำมาทำเมนูหลากหลาย เช่น ลวก จิ้ม แกง ทำส้มตำ และยังจำหน่ายเป็นพ่อแม่พันธุ์ได้

สำหรับการจำหน่ายหอยเชอรี่สีทอง สามารถขายได้ตั้งแต่ไข่ของหอย ตัวหอยขนาดไซส์เท่าเหรียญห้า ตัวละ 8 บาท ขนาดเท่าเหรียญสิบ ตัวละ 10 บาท ส่วนพ่อแม่พันธุ์ ขายในราคาคู่ละ 60 บาท ส่วนใหญ่ลูกค้าสั่งจองเพื่อซื้อเป็นพ่อแม่พันธุ์ ซึ่งขณะนี้ไม่พอขาย อีกทั้งได้แบ่งขายให้เพื่อนบ้านที่สนใจอยากชิมรสชาตินำไปรับประทานอีกด้วย

ซึ่งขณะนี้ได้เลี้ยงหอยเชอรี่สีทองมาเกือบปีแล้ว มีเกษตรกรและนักเรียน รวมทั้งผู้สนใจเข้ามาเยี่ยมชมอย่างต่อเนื่อง หากเกษตรกร หรือผู้สนใจจะเข้าเยี่ยมชมสามารถติดต่อได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 09-5968-6738

ที่มา : ผู้จัดการออนไลน์ (mgronline.com/south/detail/9660000009997)

 
โพสต์ : 02/02/2023 3:46 pm
โปรโมชั่น non stop

เทคนิค วิธีการ

เทคนิคการทำเกษตร

พื้นที่น้อย

ทำเกษตรในพื้นที่น้อย

การทำปุ๋ย

การปรับปรุงดิน

ขยายพันธุ์พืช

การขยายพันธุ์พืช

ความรู้ด้านการทำเกษตรอินทรีย์ที่น่าสนใจ ล่าสุดในตอนนี้

มะนาวพันธุ์ไหนที่คนนิยมปลูกกันมาก

คิดอยากจะปลูกมะนาว แต่เลือกพันธุ์ไม่ได้ ไม่รู้จะปลูกพันธุ์ไหนดี ดูบทความนี้รู้เลย

อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม
ทำเกษตรเชิงท่องเที่ยว สร้างรายได้มากกว่า

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร มักจะได้รับความนิยมอยู่ช่วงหนึ่ง ด้วยกระแสรักษ์โลก อยากสัมผัสกับธรรมชาติ เร

อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม
จะปลูกพริกชี้ฟ้ายังไง ให้ได้ผลใหญ่และลูกดก

ขึ้นชื่อว่าพริกก็เผ็ดเป็นธรรมดา ขนาดเม็ดเล็กๆ ยังเผ็ดจี๊ด แล้วถ้าปลูกพริกให้ได้ผลใหญ่และมีลูกดกด้วย

อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม
พื้นที่น้อย ขุดบ่อเลี้ยงปลาอย่างไรให้คุ้มทุน

หากเรามีพื้นที่น้อย และอยากขุดบ่อเลี้ยงปลา จะทำอย่างไรให้คุ้มทุนที่สุด

อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม
ไม้ผล 50 ชนิด ที่ควรปลูกไว้ติดสวน

ไม้ผล 50 ชนิด ตามความจำเป็น และประโยชน์ใช้สอยเด่น เป็นพืชทนแล้ง ทนน้ำท่วม รวมถึงปลูกแล้วให้ผลผลิตได้

อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม
มะละกอฮอลแลนด์ การปลูกแบบพอเพียง

มะละกอฮอลแลนด์ ก่อนที่จะเริ่มต้นการปลูก เกษตรกรต้องทราบที่มาที่ไป ของพืชชนิดนี้ก่อน

อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม