ลงประกาศ ข่าวสาร พูดคุยกัน รับโฆษณาสินค้า

การแจ้งเตือน
ลบทั้งหมด

รับลงโฆษณาสินค้า สร้าง Backlink คุณภาพ อย่างเดียว หรือมีเนื้อหาและแนบลิ้งด้วยบน Guest Post รวมไปถึงการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในด้านต่าง ๆ ใครอยากลงประกาศขายสินค้า หรือโพสประกาศฟรี โปรดติดต่อที่ ติดต่อเรา กฏข้อห้ามเล็กน้อย ไม่อนุญาตเนื้อหาเกี่ยวกับ สถาบัน การเมือง หมิ่นประมาท การพนันและผิดกฏหมาย เนื้อหาเกี่ยวกับเพศ เนื้อหาสำหรับผู้ใหญ่ ไม่รับทุกกรณี

มันสำปะหลัง พืชไร่ที่ดูดซับก๊าซเรือนกระจก

1 โพสต์
1 ผู้ใช้
0 Likes
209 เข้าชม
ทำเกษตร
(@admin)
กระทู้: 162
สมาชิก Admin
หัวข้อเริ่มต้น
 

อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ได้เปิดเผยว่า บทบาทภารกิจที่สำคัญอีกด้านหนึ่งของกรมวิชาการเกษตรคือการศึกษาวิจัยชนิดพืชที่มีศักยภาพในการดูดซับก๊าซเรือนกระจกโดยเฉพาะก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

และการกักเก็บคาร์บอนไว้ในส่วนต่าง ๆ ของพืช เพื่อรับมือเตรียมความพร้อมในการร่วมกันป้องกันกับปัญหาภาวะโลกร้อน (Global Warming) และการเปลี่ยนแปลงสภาพสภาพภูมิอากาศ (Climate Change)

นอกจากพื้นที่ป่าไม้แล้วพื้นที่เพาะปลูกพืชยังเป็นแหล่งดูดซับก๊าซเรือนกระจกที่สำคัญเช่นกัน

ชูมันสำปะหลังพืชไร่ศักยภาพสูงดูดซับก๊าซเรือนกระจก

 
 
ชูมันสำปะหลังพืชไร่ศักยภาพสูงดูดซับก๊าซเรือนกระจก

 

มันสำปะหลัง เป็นพืชไร่เศรษฐกิจสำคัญชนิดหนึ่งของประเทศไทย ในปีการผลิต 2565 มีเนื้อที่เพาะปลูกทั้งประเทศประมาณ 11.07 ล้านไร่ ผลผลิตรวม 34.69 ล้านตัน

ซึ่งพบว่าผลผลิตหัวสดมันสำปะหลังซึ่งเป็นรากสะสมอาหารจะสะสมคาร์โบไฮเดรตประมาณ 20-35% และในส่วนของลำต้นและใบยังมีการสะสมแป้งหรือคาร์โบไฮเดรต ซึ่งองค์ประกอบคาร์โบไฮเดรตที่เกิดขึ้นเหล่านี้เกิดจากกระบวนการสังเคราะห์แสงของพืช

โดยพืชจะดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศและน้ำ มาใช้ให้เกิดการสังเคราะห์สารประกอบอินทรีย์ และเก็บสะสมไว้ในรูปสารประกอบคาร์บอน

 
ชูมันสำปะหลังพืชไร่ศักยภาพสูงดูดซับก๊าซเรือนกระจก

 

ศูนย์วิจัยพืชไร่ระยอง กรมวิชาการเกษตร  ได้ดำเนินการศึกษาวิจัยและประเมินศักยภาพของมันสำปะหลังในการดูดซับก๊าซเรือนกระจกโดยเฉพาะการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) รวมทั้งการศึกษาการกักเก็บคาร์บอนภายในส่วนต่าง ๆ ของต้นมันสำปะหลัง จำนวน 26 สายพันธุ์/พันธุ์ พบว่าในช่วงเช้าจะมีความเข้มข้นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ในอากาศอยู่ระหว่าง 400-460 ppm

แต่เมื่อสภาพอากาศมีความเข้มแสงเริ่มสูงกว่า 200 µmol PPF m-2s-1 มันสำปะหลังเริ่มมีอัตราการสังเคราะห์แสงสุทธิเพิ่มขึ้น (ในสภาพอากาศปกติอยู่ประมาณ 07.00 น.) และเมื่อความเข้มแสงสูงกว่า 800 µmol PPF m-2s-1 (ประมาณ 08.00 น.) จะทำให้ใบมันสำปะหลังมีอัตราการสังเคราะห์แสงสุทธิสูงขึ้นอย่างเด่นชัด

ส่งผลให้ CO2 ในอากาศในแปลงปลูกมันสำปะหลังจะลดลงเหลือ 300-350 ppm ซึ่งจะเห็นได้ว่ามันสำปะหลังสามารถดูดซับ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศได้อย่างดี

 
ชูมันสำปะหลังพืชไร่ศักยภาพสูงดูดซับก๊าซเรือนกระจก

 

 การประเมินศักยภาพของพันธุ์มันสำปะหลังในการดูดซับก๊าซเรือนกระจก พบว่า มันสำปะหลังในแต่ละพันธุ์มีศักยภาพการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ในอากาศที่แตกต่างกัน

แม้ในมันสำปะหลังพันธุ์เดียวกันแต่มีช่วงอายุการเจริญเติบโตที่แตกต่างกันใบมันสำปะหลังมีศักยภาพการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่แตกต่างกันเช่นกัน โดยเฉพาะความชื้นของดินที่เหมาะสมจะมีส่วนช่วยเพิ่มศักยภาพการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้สูงขึ้น

ซึ่งมันสำปะหลังเป็นพืชที่มีศักยภาพในการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และกักเก็บคาร์บอนไว้ในผลผลิตได้ดี มีส่วนสำคัญต่อการให้ผลผลิตแป้งหรือผลผลิตมันแห้งเฉลี่ยต่อไร่ต่อปีสูง

 
ชูมันสำปะหลังพืชไร่ศักยภาพสูงดูดซับก๊าซเรือนกระจก

 

จากผลงานวิจัยเมื่อใบมันสำปะหลังได้รับความเข้มข้นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้นจะทำให้ใบมันสำปะหลังดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เข้าไปเก็บไว้ภายในภายในช่องว่างระหว่างเซลล์ของใบได้เพิ่มขึ้น และทำให้ใบมันสำปะหลังมีอัตราการสังเคราะห์แสงสุทธิเพิ่มขึ้น

ส่งผลให้เกิดการสังเคราะห์สารประกอบอินทรีย์เพิ่มขึ้น ซึ่งจากการทดลองพันธุ์มันสำปะหลังส่วนใหญ่มีอัตราการสังเคราะห์แสงสุทธิสูงในช่วง 2-4 เดือนหลังปลูก โดยเฉพาะในช่วง 4 เดือนที่ต้นมันสำปะหลังมีจำนวนใบสมบูรณ์ต่อต้นจำนวนมาก

ทำให้ช่วงการเจริญเติบโตนี้สามารถกักเก็บคาร์บอนได้สูง เมื่อพิจารณาพันธุ์ที่มีศักยภาพดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ใช้ความเข้มแสงในระดับต่ำและสูงได้ดี และให้ผลผลิตสูง สามารถคัดเลือกพันธุ์ได้ดังนี้ พันธุ์ระยอง 9 ระยอง 11 ระยอง 72 สายพันธุ์ CMR57-83-69 ห้วยบง 80 และพิรุณ 2 ซึ่งพันธุ์เหล่านี้จะเป็นพันธุ์ทางเลือกในการกักเก็บคาร์บอนได้สูงและทำให้การผลิตมันสำปะหลังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมต่อไป

 
ชูมันสำปะหลังพืชไร่ศักยภาพสูงดูดซับก๊าซเรือนกระจก

 

การเลือกใช้พันธุ์มันสำปะหลังและการจัดการแปลงปลูกที่เหมาะสมมีส่วนช่วยเพิ่มศักยภาพการกักเก็บคาร์บอนของพืช จากสรุปผลงานวิจัยของมันสำปะหลังจำนวน 26 สายพันธุ์/พันธุ์ พบว่า ผลผลิตหัวสดสามารถกักเก็บคาร์บอนเฉลี่ย 0.870 ตันคาร์บอนต่อไร่ และดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เฉลี่ย 3.190 ตัน CO2 ต่อไร่ ทำให้มันสำปะหลังสามารถดูดซับ CO2 ในพื้นที่ปลูกทั้งประเทศต่อปี รวมประมาณ 30.11 ล้านตัน CO2 ต่อปี

หากนำส่วนต่าง ๆ ของมันสำปะหลังที่เหลือ ได้แก่ ลำต้น เหง้า ใบ และก้านใบ มาคำนวณรวมกับรากสะสมอาหาร จะทำให้มันสำปะหลังเป็นพืชที่มีศักยภาพสูงในการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งเป็นก๊าซชนิดหนึ่งของก๊าซเรือนกระจก และทำให้การผลิตมันสำปะหลังเป็นมิตรกับสภาพภูมิอากาศต่อไป

สนใจข้อมูลเพิ่มเติม สามารถดาวน์โหลดได้จาก สรีรวิทยาของพันธุ์มันสำปะหลังที่มีศักยภาพในการดูดซับก๊าซเรือนกระจกในเว็บไซต์ของกรมวิชาการเกษตร

หรือสอบถามข้อมูลได้ที่นายอานนท์ มลิพันธ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาเมล็ดพันธุ์พืชพิษณุโลก กรมวิชาการเกษตร โทรศัพท์ 0895841993

ที่มาข่าวเกษตร เดลินิวส์

 
โพสต์ : 12/01/2023 1:18 pm
pay day nonstop shopee โค้ดส่งฟรี

เทคนิค วิธีการ

เทคนิคการทำเกษตร

พื้นที่น้อย

ทำเกษตรในพื้นที่น้อย

การทำปุ๋ย

การปรับปรุงดิน

ขยายพันธุ์พืช

การขยายพันธุ์พืช

ความรู้ด้านการทำเกษตรอินทรีย์ที่น่าสนใจ ล่าสุดในตอนนี้

บทความน่ารู้

วนเกษตร กับสังคมไทย

วนเกษตร หมายถึงอะไร ต่างหรือคล้ายกับการทำเกษตรทั่วไปแบบ

อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม

ปรับปรุงดิน การทำปุ๋ย

มะละกอฮอลแลนด์ การปลูกแบบพอเพียง

มะละกอฮอลแลนด์ ก่อนที่จะเริ่มต้นการปลูก เกษตรกรต้องทราบ

อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม

เทคนิคและวิธีการ

สนใจกาแฟเวียดนาม เชิญทางนี้

เมื่อนึกถึงแหล่งผลิตกาแฟ หลายคนอาจนึงถึงประเทศใหญ่อย่าง

อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม

เทคนิคและวิธีการ

ปลูกถั่วฝักยาวแบบอินทรีย์

ถั่วฝักยาว สามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินแทบจะทุกชนิด แต่ท

อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม

บทความน่ารู้

ถั่งเช่าสีทอง กับความจริงที่แพทย์จีนไม่แนะนำ

รู้หรือไม่ว่า การแพทย์แผนจีนปัจจุบัน ไม่ได้สนับสนุนให้ใ

อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม

บทความน่ารู้

กล้วยด่าง กับเทคนิคการเลือกให้ได้พันธุ์แท้

หลายวันก่อน เขียนเรื่อง กล้วยด่างฟลอริด้า ที่ดาราสาวอย่

อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม