ปัญหาอย่างหนึ่งเกี่ยวกับเกษตรกรที่ลงมือทำ เกษตรทางเลือก โดยใช้รูปแบบของการทำเกษตรอินทรีย์แล้วเกิดปัญหามีการระบาดของแมลงและศัตรูพืชมากมายและ หาทางกำจัดได้ยาก หรือไม่มีวิธีการกำจัด
จึงต้องหันมาใช้สารเคมีแบบเดิมทำให้ไม่สามารถจะประสบความสำเร็จในการทำเกษตรอินทรีย์ได้ แต่รู้หรือไม่ว่า สารทดแทนสารเคมี ที่ใช้ได้กับเกษตรอินทรีย์ ที่รูปแบบเกษตรอินทรีย์สามารถใช้สารควบคุมโรคพืชได้นั้น มีหลายอย่าง และไม่ผิดข้อบังคับของการทำ เกษตรอินทรีย์ แต่อย่างใด
สารอนุญาตให้ใช้ควบคุมโรคพืช ในการทำเกษตรอินทรีย์ ซึ่งสารที่อนุญาตให้ใช้ควบคุมโรคพืช ได้แก่ กำมะถัน บอร์โดมิกซเจอคร์ พืชที่สมุนไพรและสารสกัดจากสมุนไพร คอปเปอร์ซับเฟต คอปเปอร์ไฮดรอกไซด์ คอปเปอร์ออกซี คลอไรด์ ในการควบคุมแมลง การสำรวจแมลงศัตรูพืชในแปลงปลูก หากพบแมลงศัตรูพืช ให้ปฏิบัติได้โดยการใช้ สารทดแทนสารเคมี ที่ใช้ได้กับเกษตรอินทรีย์ ได้ดังนี้
- ถ้าแมลงมีจำนวนน้อย ให้ใช้วิธีการควบคุมทางชีวภาพจากพืช หรือ สารสกัดจากพืชสมุนไพร เช่น ดาวเรือง ว่านน้ำ พริก สาบเสือ หางไหลแดง สะเดา เป็นต้นใช้จุลินทรีย์ปฏิปักษ์ เช่น เชื้อไวรัสเอ็นพีวี เชื้อแบคทีเรียบีที ไส้เดือนฝอย ศัตรูธรรมชาติ เชื้อราเมตาไลเซี่ยม ใช้ตัวห้ำ ตัวเบียน น้ำสบู่ สารทำหมันแมลง
- หากแมลงระบาด ใช้กับดักกาวเหนียว กับดักแสงไฟ เพื่อลดปริมาณแมลง ใช้ไว้ท์ออยล์ หรอมิเนอรัล ออยลฺ์
การควบคุมวัชพืชในการทำเกษตรอินทรีย์
- ควรควบคุมก่อนวัชพืชออกดอก
- ควบคุมโดยวิธีทางกายภาพ เช่น อบ ตาก บด ถอน ตัด ปลูกพืชตระกูลถั่วคลุมดิน ใช้พลาสติกทึบแสงที่ไม่ย่อยสลายคลุมแปลง
- ใช้สารสกัดจากพืช ทดแทนสารเคมี
- ใช้ชีววิธี เช่น แมลง สัตว์ หรือจุลินทรีย์
ในด้านการปรับปรุงบำรุงดินนั้น เกษตรกรก็มีปัญหาไม่แพ้กัน แต่ในระบบเกษตรอินทรีย์นั้น ไม่ได้จำกัดสารเคมีทุกตัว แต่จำกัดเพียงบางส่วนที่ส่งผลให้เกิดอันตรายต่อผู้ปลูก ผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม แต่สามารถใช้สารบางชนิดได้ โดย
สารที่ไม่อนุญาตให้ใช้ปรับปรุงดินระบบการทำเกษตรอินทรีย์
- กากตะกอนโสโครก (โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผัก)
- สารเร่งการเจริญเติบโตที่มีผลไปถึงโครงสร้างพืชและสัตว์
- จุลินทรีย์ และผลิตผลจากจุลินทรีย์ที่ได้มากจากการตัดต่อสารพันธุกรรม
- สารพิษตามธรรมชาติ เช่น โลหะหนักต่าง
- ปุ๋ยเทศบาล หรือปุ๋ยหมักจากขยะในเมือง
สารที่อนุญาตให้ใช้ปรับปรุงดินในระบบการทำเกษตรอินทรีย์
- ปุ๋ยอินทรีย์ ที่ผลิตจากวัสดุในไร่นา เช่น ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก และปุ๋ยพืชสด โดยปุ๋ยหมัก จะได้จากเศษซากพืช ฟางข้าว ขี้เลื่อย เปลือกไม้ เศษไม้ และวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรอื่นๆ ปุ๋ยคอก ได้จากสัตว์ที่เลี้ยงตามธรรมชาติ ไม่ใช้อาหารจากจีเอ็มโอ(สารตัดต่อพันธุกรรม) ไม่ใช้สารเร่งการเจริญเติบโตและไม่มีการทรมานสัตว์ และ ปุ๋ยพืชสด ได้จากเศษซากพืชและวัสดุเหลือใช้ในไร่นา ในรูปสารอินทรีย์
- ดินพรุ ที่ไม่เติมสารสังเคราะห์
- ปุ๋ยชีวภาพ หรือจุลินทรีย์ที่พบทั่วไปตามธรรมชาติ
- ขุยอินทรีย์ สิ่งที่ขับถ่ายจากไส้เดือนดินและแมลง
- ดินอินทรีย์ที่ได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการ
- ดินชั้นบน (หน้าดิน) ที่ปลอดจากการใช้สารเคมีมาแล้วอย่างน้อย 1 ปี
- ผลิตภัณฑ์จากสาหร่าย และสาหร่ายทะเล ที่ได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการ
- ปุ๋ยอินทรีย์น้ำที่ได้จากพืชและสัตว์
- อุจจาระและปัสสาวะ ที่ได้รับการหมักแล้ว(ใช้ได้กับพืชที่ไม่เป็นอาหารของมนุษย์)
- ของเหลวจากระบบน้ำโสโครก จากโรงงานทีผ่านกระบวนการหมักโดยไม่เติมสารสังเคราะห์ และไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อมที่ได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการ
- ของเหลือกใช้จากกระบวนการในโรงงานฆ่าสัตว์ โรงงานอุตสาหกรรม เช่นโรงงานน้ำตาล โรงงานมันสำปะหลัง โรงงานน้ำปลา โดยกระบวนการเหล่านั้นต้องไม่เติมสารสังเคราะห์ และต้องได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการ
และอนุญาตให้ใช้กับการบำรุงดินอีกประเภทคือ สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืชหรือสัตว์ ซึ่งได้จากธรรมชาติ จะเป็นสารอนินทรีย์จำพวกหินและแร่ธาตุ ได้แก่
- หินบด
- หินฟอสเฟต
- หินปูนบด (ไม่เผาไฟ)
- ยิบซั่ม
- แคลเซียม
- ซิลิเกต
- แมกนีเซียมซัลเฟต
- แร่ดินเหนียว
- แร่เฟลด์สปาร์
- แร่เพอร์ไลท์
- ซีโอไลท์
- เบนโทไนท์
- หินโพแทส
- แคลเซียมจากสาหร่ายทะเล และ สาหร่ายทะเล
- เปลือกหอย
- เถ้าถ่าน
- เปลือกไข่บด
- กระดูกป่น และ เลือดแห้ง
- เกลือกสินเธาว์
- โบแร็กซ์
- กำมะถัน
- ธาตุอาหารเสริม (โบรอน ทองแดง เหล็ก แมงกานีส โมลิบดินัม และสังกะสี)
สารทดแทนสารเคมี ที่ใช้ได้กับเกษตรอินทรีย์ เหล่านี้สามารถนำมาใช้ในการทำเกษตรอินทรีย์ได้โดยไม่ถือว่าเป็นการใช้สารเคมีในการทำเกษตรอินทรีย์อย่างเป็นระบบ
อ้างอิงจาก ข้อมูลจากศูนย์พัฒนาการ เกษตรอินทรีย์ ในจังหวัด